1. ฝนชะล้างไนโตรเจนกลายเป็นแอมโมเนียมและไนเตรต ไหลลงสู่ดิน และพืชใช้เป็นธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตโดยปฏิกิริยาแอสซิมิเลชั่น (assimilation)
2. การตรึงไนโตรเจน (nitrogen fixation) ซึ่งมีเพียงแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้นที่สามารถใช้ก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศเปลี่ยนเป็นไนโตรเจนในรูปที่พืชสามารถนำมาใช้ได้แบคทีเรียพวกนี้มีทั้งที่อยู่ในดินและที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต เช่น ไรโซเบียมในปมรากถั่ว และแบคทีเรียในเฟินน้ำพวกแหนแดง (Azolla) นอกจากนั้นยังมีแบคทีเรียสีเขียวแกมน้ำเงินในน้ำบางชนิด ในปัจจุบันการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนใช้ในเกษตรกรรมก็เป็นแหล่งไนโตรเจนสำคัญที่เติมไนโตรเจนสู่ระบบนิเวศ
ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารสำคัญที่พืชใช้ในโครงสร้างและแมทาบอลิซึม สัตว์กินพืชและผู้บริโภคลำดับถัดมาได้ใช้ไนโตรเจนจากพืชนี่เองเป็นแหล่งสร้างโปรตีนและสารพันธุกรรม เมื่อพืชและสัตว์ตายลง ผู้ย่อยสลายพวกราและแบคทีเรียสามารถย่อยสลายไนโตรเจนในสิ่งมีชีวิตให้กลับเป็นแอมโมเนียมซึ่งพืชสามารถนำมาใช้ได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า แอมโมนิฟิเคชัน (ammonification)
ไนโตรเจนในสารอินทรีย์สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซไนโตรเจนโดยผ่าน 2 กระบวนการ คือ
1. ไนตริฟิเคชัน (nitrification) แบคทีเรียบางชนิดใช้แอมโมเนียมในดินเป็นแหล่งพลังงานและทำให้เกิดไนไตรต์ (NO2 -) ซึ่งเปลี่ยนเป็นไนเตรตซึ่งพืชใช้ได้ด้วย
Nitrosomonas Nitrobacter
NH4 + (ammonium) NO2 - (nitrite) NO3 - (nitrate)
|
2. ดีไนตริฟิเคชัน (denitrification) ในสภาพไร้ออกซิเจน แบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างออกซิเจนได้เองจากไนเตรต และได้ผลผลิตเป็นก๊าซไนโตรเจนกลับคืนสู่บรรยากาศ
NO3 - (nitrate) NO2 - (nitrite) N2 O (nitrorous oxide) N2 (nitrogen)
|
พืชบางชนิดมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้แตกต่างจากพืชอื่นๆ เช่น พืชกินแมลงซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่ขาดธาตุอาหารสำคัญอย่างไนโตรเจน มีในประเทศไทยมีพืชหลายสกุล หลายชนิดที่มีวิวัฒนาการในการดักจับสัตว์มาเป็นอาหาร เช่น กาบหอยแครง หยาดน้ำค้าง และหม้อข้าวหม้อแกงลิง หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีส่วนของใบทำหน้าที่เปลี่ยนไปเพื่อดักแมลง ที่ปลายใบมีกระเปาะเป็นรูปคล้ายหม้อทรงสูงยาว และมีน้ำหวานล่อแมลง ภายในมีเอนไซม์ เพื่อสลายสิ่งมีชีวิตเป็นสารอินทรีย์ สา
รอนินทรีย์ และแร่ธาตุ
ข้อสอบ Onet
ข้อ 1) เมื่อมีสารประกอบไนเตรตและฟอสเฟตสะสมอยู่ในแหล่งน้ำเป็นปริมาณมาก ปรากฏการณ์ใดจะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก (O-net 52) | |
1. ปริมาณแพลงตอนสัตว์จะเพิ่มขึ้น 2. จำนวนของแพลงตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำจะเพิ่มขึ้น 3. สารพิษตกค้าง เช่น สารกำจัดแมลง จะมีปริมาณการสะสมสูงขึ้น 4. ปริมาณสัตว์น้ำ เช่น ปลา สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จะเพิ่มขึ้น |
คำตอบข้อ 1) ตอบ ข้อ 2. จำนวนของแพลงตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำจะเพิ่มขึ้น
เหตุผล
แพลงตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำ ชอบสารอาหารธาตุไนเตรตและฟอสเฟต
ข้อ 2) วัฎจักรของสารใดในระบบนิเวศที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดฝนกรดมากที่สุด (O-net 51) | |||||
1. คาร์บอน 2. กำมะถัน 3. แคลเซียม 4. ไฮโดรเจน คำตอบข้อ 2 ) ตอบ 2 เหตุผล ฝนกรด เกิดจากในบรรยากาศมีออกไซด์ของไนโตรเจน และกำมะถันปนเปื้อน แก๊สที่ปนเปื้อนนี้จัดเป็นมลพิษทางอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น จากยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรม แก๊สเหล่านี้จะละลายปนอยู่กับไอน้ำของบรรยากาศ และถูกออกซิไดซ์เป็น กรดไนตริกและกรดกำมะถันในที่สุด โดยทั่วไปฝนจะมีค่า pH ประมาณ 5.6 ซึ่งสภาพกรดของน้ำฝนมาจากกรดคาร์บอนิก ที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีอยู่แล้วในบรรยากาศ แต่ฝนที่เกิดจาก กรดไนตริก และ กรดกำมะถัน อาจมีค่า pH ต่ำถึง 4.0 ในกรณีที่มีละอองหมอกหนาทึบบางครั้งอาจพบค่า pH ได้ถึง 2.0 **** ดังนั้นวัฎจักรของสารที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบนิเวศมากที่สุด คือ กำมะถัน
|
ผุ้จัดทำ
1.นายกฤษณพล สาสังข์ ม.5/14 เลขที่1
2.นายชยกร ชมบุตรศรี ม.5/14 เลขที่4
อ้างอิง
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter1/chapter1_nitrogen1.htm
http://www.nana-bio.com/Medium/O-net2553/O-net2552C16%20-C20.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น